พี่เก่งจะมาเล่าเกี่ยวกับการวางแผนภาษีทั้งระบบ ใน EP.2 กรณีธุรกิจบุคคลธรรมดา จะเปลี่ยนเป็นบริษัท ให้ได้ทราบว่ามีหลักเกณฑ์ และวิธีการอย่างไร รวมถึงพี่เก่งได้ยกกรณีศึกษาเป็นตัวอย่าง? รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม สำหรับท่านใดต้องการฟังแบบคลิปบรรยายคลิกลิงก์ https://www.youtube.com/watch?v=RYOHP_JMokQ
หรือรับชมได้จากคลิปด้านล่างบทความนี้ >>คลิก
สวัสดีค่ะ พี่เก่งนะคะวันนี้พี่เก่งจะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องของการวางแผนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการที่เริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งต่อเนื่องจากคลิปที่แล้ว ซึ่งคลิปก่อนหน้านี้เราได้คุยกันถึงเรื่องของการวางแผนของธุรกิจนำเข้า-ส่งออก วันนี้พี่เก่งก็เลยมาแชร์ข้อมูลเพิ่มเติมนิดนึงว่าเนื่องจากช่วงนี้เปิดมาปีใหม่ก็มีน้องๆ หลายๆ ท่านได้มาปรึกษาพี่เก่ง และก็มีการวางแผนภาษีการคำนวณภาษีให้กับน้องๆ เพื่อจะดูภาพรวมทั้งภาษีในรูปของบุคคล และก็ภาษีในรูปของบริษัท
เนื่องจากตอนนี้น้องๆ หลายท่านก็ทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดาแล้วก็ปีนี้ก็อยากจะเปลี่ยนเป็นรูปบริษัท ก็เลยมีการมาพูดคุยเรื่องของการวางตัวเลขแล้วก็คำนวณภาษีล่วงหน้ากัน เคสนี้พี่เก่งจะเล่าให้ฟังก็คือเป็นเคสของลูกค้าท่านหนึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องของเป็นตัวแทนในการหาสินค้าให้กับลูกค้า เดี๋ยวพี่เก่งจะเล่าให้ฟังว่าในประเด็นของธุรกิจตัวนี้มีภาษีอะไรบ้าง และก็มีการวางแผนอย่างไร และก็หัวใจในการวางแผนมันคืออะไรนะคะ
พี่เก่งขอเล่าพร้อมข้อมูลเพิ่มเติมนิดหนึ่ง ธุรกิจของลูกค้ารายนี้กำลังจะเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาไปเป็น–>>รูปบริษัท แล้วก็ตอนนี้เปิดบริษัทมาเรียบร้อยแล้วเมื่อตอนเดือนมกราคมปี 2565 แต่ก็ยังไม่ได้เอาเงินของค่าคอมมิสชั่นเข้าบริษัทยังทำในรูปบุคคลธรรมดาอยู่ก็ยังไม่มั่นใจว่าจะเริ่มเลยรึเปล่าก็เลยมาปรึกษาพี่เก่ง อยากจะมองภาพรวมแล้วก็อยากที่จะเห็นตัวเลขทั้งหมดก่อนของปีนี้ถึงจะตัดสินใจว่าจะเอาเข้าบริษัทเลยรึเปล่า ข้อมูลเพิ่มเติมต่อก็คือรายได้จากค่าคอมมิสชั่นของน้องก็อยู่ประมาณปีละ 10 ล้านกว่าๆ แล้วก็เรื่องของการรับค่าคอมฯ แล้วก็มีรับสองแบบ ก็คือรับค่าคอมฯ โดยตรงจากลูกค้าเลยหรือไม่ก็จะเป็นอีกแบบหนึ่ง คือลูกค้าจะโอนค่าสินค้าบวกค่าคอมมิสชั่นมาให้เราทั้งก่อน แล้วเราก็เอาเงินตรงนี้ไปซื้อสินค้าก็จะเหลือส่วนต่างเป็นค่าคอมฯ อยู่ที่เรานี้แล้วก็ค่าใช้จ่ายในการทำธุรกิจของน้องนี้ ก็จะมีพวกเงินเดือนของพนักงานทั้งที่ทีม (Sell) ขายแล้วก็ทีมแอดมินประมาณ 8 ถึง 10 คน จะมีพวกเงินเดือนมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการที่จะบริหารการขาย มีค่าโฆษณาเฟสบุ๊ค มีพวกค่าเช่าออฟฟิศต่างๆ ซึ่งค่าใช้จ่ายที่น้องเขียนไว้พี่เก่งนี่ก็ยังจะเป็นค่าใช้จ่ายแบบหลวมๆ พี่เก่งก็ได้มาวางแผนให้น้องต่อว่าต้องมีอะไรบ้างทีนี้ภาษีในเรื่องแรกภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจตัวนี้
ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
2.ภาษีนิติบุคคล (ภาษีของบริษัท)
3.เกี่ยวข้องกับพนักงาน คือประกันสังคม
ทีนี้เราพูดถึงเรื่อง VAT ก่อนเรื่อง VAT ค่าคอมมิสชั่นของน้องที่รับมาจะแบ่งเป็นสองส่วนคือค่าคอมมิสชั่นที่รับจากลูกค้าโดยตรงที่รับเฉพาะค่าคอมลูกค้าจะโอนค่าคอมมาให้เราเข้าบัญชีเราตรงนี้เองพี่เก่งก็ถามน้องว่าเราสามารถที่จะผลักภาระ 7% ให้ลูกค้าได้ไหม ก็คือสมุติว่าค่าคอมฯ สักหมื่นบาทเราสามารถที่จะบวกเพิ่มกับลูกค้าอีก 7% ได้มั้ย 700 บาท น้องก็บอกว่าไม่น่าจะทำได้เพราะว่า ส่วนใหญ่ก็จะตกลงเป็นตัวเลขกลมๆ นั่นก็หมายความว่าเรื่องของภาษีมูค่าเพิ่มในขณะก็จะต้องเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวมเข้าไปแล้ว (Included) อย่างยอดตัวหมื่นหนึ่งก็เป็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ร่วมใน 10,000 บาทไปแล้ว อันนี้ก็ต้องมีการเปิดใบกำกับให้เรียบร้อยด้วย
ที่นี้ในส่วนของอีกตัวนึงตัวค่าสินค้ากับค่าคอมฯ ที่ลูกค้าโอนเงินมาให้เราทั้งก้อน แล้วเราก็โอนไปซื้อสินค้าต่อแบบนี้ กรณีแบบนี้ถ้าเรามองจริงๆ ลักษณะการซื้อมาขายไป แต่เนื่องจากว่าน้องก็ปรึกษาว่าจะไม่อยากจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากยอดทั้งสองตัวรวมกันทั้งก้อนเนี่ยก็สามารถทำได้ พี่เก่งก็แนะนำว่านั้นก็ต้องทำเป็นสัญญาแต่งตั้งตัวแทนว่าเราเป็นตัวแทนในการหาสินค้า แล้วเราก็จะเปิดใบกำกับภาษีเฉพาะยอดที่ค่าคอมฯ ที่เราได้รับส่วนค่าสินค้าเราก็จะมองเป็นแค่เงินทดลองจ่ายลูกค้าโอนเงินมาให้เราแล้วเราก็แค่พักไว้ในบัญชีแล้วเพื่อจะโอนไปซื้อของต่อ เคสแบบนี้ก็ต้องมีการแต่งตั้งทำสัญญาตัวแทนเพื่อให้ไม่เอาตัวค่าสินค้าไปรวมในการฐานในการคิด VAT ด้วยอันนี้ก็ได้มีการแนะนำน้องไป
ทีนี้ภาษีอีกตัวหนึ่งก็คือภาษีบริษัท อันนี้ก็คือคำนวณจากกำไรสุทธิของบริษัทด้วยเอารายรับหักรายจ่าย อันนี้ก็แนะนำน้องไปว่าก็ต้องมีการคำนวนโดยที่ พี่เก่งก็มีการลงรายละเอียดของเรื่องตัวค่าใช้จ่ายที่จะต้องตั้งเพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมาน้องเองอาจจะทำเป็นบุคคลธรรมดา ค่ายใช้จ่ายต่างๆที่จ่ายไปอาจจะไม่ได้มองว่าสามารถจะเบิกเป็นต้นทุนเป็นค่าใช้จ่ายได้ ก็เพียงแนะนำว่านั่นก็เดี๋ยวพี่เก่งจะทำตัวเลขแล้วก็วางค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับทุกอย่างให้สมบูรณ์มากที่สุด ว่าธุรกิจของเราต้องมีค่าอะไรบ้าง ก็ในเรื่องของตัวนี้ในเรื่องของการวางแผนเราก็ต้องใช้วิธีการหากต้นทุนตามจ่ายจริงโดยมองว่าค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริษัทก็เอามาเบิกให้ครบทำหลักฐานประกอบให้น่าเชื่อถือตัวไหนเบิกได้ตัวไหนเบิกไม่ได้ก็มานั่งวิเคราะห์ดูเราก็พยายามต้องทำหลักฐานให้น่าเชื่อถือแล้วก็มีน้ำหนักในการที่จะเอามาบันทึกบัญชี แล้วค่าใช้จ่ายนั้นที่จะเอามาเบิก ไม่เป็นค่าใช้จ่ายบวกกลับทางภาษีด้วย
ต่อไปอักตัวหนึ่งเป็นเรื่องของประกันสังคม เนื่องจากน้องมีพนักงานอยู่หลายท่าน ในเรื่องของกฎหมายแรงงานก็ต้องมีการขึ้นทะเบียนนายจ้างลูกจ้างด้วยต้องมีการนำส่งประกันสังคมทุกเดือนในฝั่งของลูกจ้างเราก็หักลูกจ้างไว้ที่ 5% ก็คนหนึ่งไม่เกิน 750 บาท แล้วก็ทางฝั่งนายจ้างก็สมทบเพิ่มขึ้นให้ด้วยอีกคนละ 750 บาท สำหรับฐานเงินเดือนที่ 15,000 บาท
ต่อไปในหัวข้อสอง เรื่องของการวางแผนอย่างไรสำหรับตัวธุรกิจตัวนี้ ก็ในเรื่องของ VAT พี่เก่งได้พูดไปแล้วนิดหนึ่งก็สรุปเพิ่มเติมนิดหนึ่งก็มีในเรื่องของ การทำสัญญาแต่งตั้งตัวแทน เพื่อให้เราเสียภาษีจากตัวเลขที่น้อยที่สุดก็คือตัวเลขเฉพาะแค่ค่าคอมมิสชั่น
ต่อไปเรื่องของการวางแผนในตัวของภาษีนิติบุคคลอันนี้ต้องเป็นเรื่องของการวางค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจมากที่สุดพี่เก่งก็ยกตัวอย่างให้ฟังคร่าวๆ แล้วกันก็จะมีเรื่องของการตั้งเงินเดือนกรรมการแล้วก็มีเรื่องของการวางแผนค่าลดหย่อนของกรรมการด้วยว่าถ้าเราตั้งเงินเดือนของกรรมการสูงนิดหนึ่งเนี่ย ทางฝั่งของค่าลดหย่อนก็ต้องมีการวางแผนด้วย ซึ่งตอนนี้พี่เก่งก็ได้มีการวางแผนตั้งแต่ต้นจนจบให้ลูกค้า ในเรื่องของค่าใช้จ่ายที่ต้องตั้งเพิ่มก็คือเรื่องของรถยนต์ที่กรรมการใช้งานเนื่องจากว่ากรรมการยังผ่อนอยู่ก็จะมีการตั้งค่าเช่าระหว่างกันอันนี้ทางฝั่งบริษัทเองก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทางฝั่งกรรมการก็จะเป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัวแต่ตัวนี้การตั้งค่าเช่าเองก็ในแง่ของภาษีทำได้เราก็มีการนำส่งภาษี ณ ที่จ่ายให้ถูกต้องแล้วก็ในฝั่งของกรรมการก็เป็นรายได้แต่พี่เก่งก็มองว่าตัวนี้ก็ดีกว่าที่ไปตั้งเงินเดือนเนื่องจากเงินเดือนหักค่าใช้จ่ายได้แค่แสนหนึ่งต่อปีแต่ค่าเช่ารถหักค่าใช้จ่ายได้ 30% ก็ได้ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในฝั่งของกรรมการทำให้เสียภาษีตรงนั้นน้อยลงด้วยค่ะ
ต่อไปในเรื่องของอื่นๆ ที่พี่เก่งแนะนำก็จะมีเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับพนักงานขาย พนักงานแอดมินไม่ว่าจะเป็นเรื่องของค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าคอมมิชชั่นน้องท่านนี้เล่าให้ฟังมีการจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้ (Sell) ด้วยอันนี้ก็สามารถมาเบิกเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้ หรือเดี๋ยวพี่เก่งเพิ่มอีกนิดหนึ่ง เรื่องของตัวค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ ของกรรมการ ตรงนี้พอเราตั้งเป็นค่าเช่ากันแล้วก็จะสามารถจะเบิกพวกค่าซ่อมแซม ค่าประกันภัยรถยนต์ได้หรือค่าใช้จ่ายพวกค่าน้ำมันทางด่วนก็เบิกได้ ยังมีค่าใช้จ่ายอีกหลายตัวที่สามารถตั้งเพิ่มได้ แต่ว่าพี่เก่งขอยกตัวอย่างคร่าวๆ ให้ฟัง
ที่นี้อ่ามาดูประเด็นที่สาม เรื่องของหัวใจของการวางแผนภาษี ประเด็นของการวางแผนมันก็คือเรื่องของการบาลานซ์ภาษีของฝั่งบริษัท แล้วก็ฝั่งของบุคคลธรรมดาซึ่งตัวกรรมการหรือว่าตัวผู้ถือหุ้นหรือว่าตัวทีมผู้บริหาร ที่ทำงานค่าใช้จ่ายระหว่างที่เราตั้งระหว่างบริษัทกับตัวกรรมการคำนวณแล้วทั้งสองฝั่งของตะกร้าภาษีทั้งสองฝั่งจะต้องไม่ลักลั่นกัน
พี่เก่งยกตัวอย่างเช่นบริษัทเองเสียภาษีอยู่ที่เหรด 15% ก็คือกำไรอยู่ในช่วงของ 300,001 บาท จนถึง 3 ล้านบาทอยู่ในช่วงอัตราภาษี 15% งั้นฝั่งกรรมการเวลาเราวางแผนก็ต้องภาษีไม่เกินกว่าผังบริษัทไม่งั้นจะทำให้การบริหารภาษีนี้ค่ะมีความไม่ balance กัน หรือถ้าสุดท้ายช่องสุดท้ายถ้าเกิดสมมุติเราวางแผนแล้วมันก็ยังไม่สามารถ จะทำภาษีได้ต่ำกว่านี้ก็อาจจะใช้วิธีการจ่ายเงินปันผลก็ได้เพราะว่าการจ่ายเงินปันผลก็เสียภาษี 10% แล้วก็ไม่ต้องเอาตัวรายได้จากเงินปันผลไปรวมในการคำนวณภาษีอีกรอบนึงก็สามารถจะ Wave (ข้ามไปได้) เลยค่ะ นี่ก็เป็นข้อมูลที่เก่งได้มีการแนะนำลูกค้าไป
เดี๋ยวพี่เก่งขอสรุปเรื่องของการวางแผนภาษีทั้งระบบนิดนึงจากการที่พี่เก่งได้ทำเคส วางแผนภาษีให้ลูกค้าหลายๆ เคสที่ผ่านมาก็ประโยชน์ที่น้องๆหลายๆท่านได้รับไปคือเรื่องของการที่เราสามารถที่จะมองภาพรวมของภาษีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มว่าต้องเสียปีหนึ่งประมาณเท่าไหร่ ภาษีบุคคลธรรมดา ภาษีนิติบุคคลว่าต้องเสียตัวเลขประมาณเท่าไหร่ต่อปีซึ่งน้องแต่ละคนก็ได้สบายใจแล้วก็ จะมีการวางแผนภาษีเพิ่มหรือว่าอาจจะมีการคำนวณเรื่องของกระแสเงินสดล่วงหน้าเพื่อจะได้ทำให้เรื่องของตัว Cash Flow ไม่ติดลบแล้วก็ในเรื่องของพอเราวางแผนเราก็จะเห็นภาพของทั้งหมดว่าทั้งกำไรสุทธิจะเป็นเท่าไรทั้งภาษีจะเป็นตัวเท่าไหร่เพื่อให้เราเองก็ได้ไม่ต้อง กังวลเรื่องภาษีที่จะต้องเกิดขึ้นในอนาคตลดความเสี่ยงเรื่องของการถูกประเมินภาษีด้วย
อันนี้ค่ะพี่เก่งก็ขอแชร์กับพวกเราทุกคนว่าในการวางแผนภาษีเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งพวกเราเองที่กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจจากบุคคลธรรมดาเป็นรูปบริษัทถ้าเราสามารถที่จะวางแผนล่วงหน้าได้ก็ทำให้เราเองก็สบายใจเราก็สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่นแล้วก็ไม่ต้องกังวลเรื่องตัวเลขภาษี ถ้าน้องๆท่านใดสนใจในเรื่องการวางแผนภาษีทั้งระบบไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไหนก็สามารถที่จะวางแผนได้ก็สามารถติดต่อพี่เก่งมาได้
วีดีโอบรรยาย
กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม
ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com
ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี
Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao