แชร์ประสบการณ์ ถาม-ตอบ ผู้เข้าร่วมสัมมนา ครั้งที่ 3

พี่เก่งจะมาแชร์ประสบการณ์ ที่ได้ตอบคำถามผู้เข้าร่วมสัมมนา Exclusive Seminar หัวข้อ Upskill SME Exporters ติดอาวุธใหม่ให้ SME สู่การส่งออก พี่เก่งได้บรรยายในหัวข้อ การอ่านและวิเคราะห์งบการเงิน

รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม สำหรับท่านใดต้องการฟังแบบคลิปบรรยายคลิกลิงก์ https://youtu.be/e-5soqrcI2c
หรือรับชมได้จากคลิปด้านล่างบทความนี้ >>คลิก

สวัสดีค่ะพี่เก่งนะคะพี่เก่งจะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่องคำถามจากงานสัมมนาที่จัดขึ้นที่นครศรีธรรมราชเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งพี่เก่งได้รับเชิญไปบรรยายในหัวข้อเรื่อง ของการอ่านและวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งงานนี้ก็จัดโดย สสว. เป็นการจัดครั้งที่ 3 ในทั้งหมด 6 วันก็เป็นการร่วมมือกันระหว่าง สสว. แล้วก็ EXIM Bank แล้วก็สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ซึ่งงานนี้ก็จัดที่นครศรีธรรมราช พี่เก่งก็เลยเอาคำถามที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาถามในงานนั้นมาเล่าสู่พวกเราฟัง

คำถามแรก?

มีน้องท่านหนึ่งถามว่าปัจจุบันถ้าประกอบธุรกิจในรูปของนิติบุคคล ประกอบธุรกิจแล้วมีผลการดำเนินงานขาดทุนจะสามารถที่จะกู้ (ธนาคาร) Bank หรือขอสินเชื่อธนาคารหรือเปล่านะคะ

ในข้อนี้ถ้าพี่เก่งก็ตอบคำถามนี้เป็นแนวกลางๆ เนื่องจากพี่เก่งก็ไม่ได้เป็นแนวของไฟแนนซ์นะคะ ก็ขอตอบน้องแบบนี้ค่ะ กรณีที่ขอสินเชื่อแบงค์ ปกติเองก็จะดูเรื่องของปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกัน ถ้างบของบริษัทเราขาดทุนปีแรกเนื่องจากสถานการณ์โควิดหรือว่าเจอเรื่องของสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันก็อาจจะปรับแผนไม่ทัน อาจจะทำให้ปีนั้นขาดทุนได้แล้วก็ต้องการที่จะขอกู้แบงค์เพื่อจะขอเรื่องเงินทุนหมุนเวียนในกิจการหรือว่าขอเรื่องของการจะขยายธุรกิจ หรือว่าเอามาเติมในเรื่องของกระแสเงินสด อาจจะมีแนวโน้มให้กู้ได้เนื่องจากยังดูในเรื่องของภาพรวมการประกอบธุรกิจยังดีอยู่

แล้วถ้าเกินงบของเรามันขาดทุนมาหลายปีติดต่อกัน 3 ถึง 4 ปีโอกาสจะกู้แบงก์หรือว่าสินเชื่อที่ Bank ปล่อยให้ก็จะยากนิดหนึ่ง เพราะว่าการบริหารปล่อยให้งบขาดทุนติดต่อกัน 3 ถึง 4 ปีอันนี้ก็แปลว่าผู้บริหารเองก็ไม่ได้มีการแก้ไข สถานการณ์ของออฟฟิศเห็นแบบนี้ก็ Bank ก็จะปล่อยสินเชื่อยากมาก หรือ ถ้าอีกเหตุผลหนึ่ง อีกปัจจัยหนึ่ง สมมุติว่าธุรกิจมีทรัพย์สิน เช่น มีพวกที่ดินอาคารเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง อันนี้ค่ะ Bank ก็อาจจะดูว่าอาจจะเป็นลักษณะของการขาดทุนแล้วก็แต่ว่ามีเรื่องของสินทรัพย์ที่มีหลักประกันที่มีมูลค่าสูง ก็อาจจะปล่อยสินเชื่อให้ได้ หรือ ว่าอาจจะเป็นธุรกิจในกลุ่มที่เป็นกระแสของเทคโนโลยีปัจจุบันแล้วก็มีแผนธุรกิจที่ดี มีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันให้พอประมาณแล้วกรรมการค้ำประกันส่วนตัวอาจจะมีการปล่อยสินเชื่อให้ได้


ทั้งหมดแต่ละเงื่อนไขก็ต้องดูภาพรวมก็ดูปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบหลายอย่างนะคะ แต่ละเงื่อนไขก็มีความเสี่ยงต่างกัน เจ้าหน้าที่แบงค์หรือว่าทางสินเชื่อแบงก์ที่เป็นผู้อนุมัติก็ต้องดูปัจจัยหลายๆอย่างมาประกอบกันทั้งหมด ก็จะมีผลกับเรื่องของวงเงินสินเชื่อที่ได้รับ ประกอบกับดอกเบี้ยที่จะได้รับเช่นเดียวกัน ถ้าเรามีความเสี่ยงสูง หรือว่าสภาพธุรกิจไม่ค่อยดี Bank อาจจะปล่อยสินเชื่อแต่อาจจะเป็นวงเงินเล็กน้อยแล้วก็อาจจะดอกเบี้ยสูงนิดหนึ่ง เพราะเป็นการประกันความเสียหายกับทางแบงค์

พี่เก่งก็ตอบน้องไปลักษณะกลางๆ แบบนี้ ที่นี้ก็มีน้องอีกท่านหนึ่งถามว่าบริษัทของน้องเนี่ยค่ะเปิดตั้งแต่ปี 2562 แล้วก็ไม่ทำธุรกิจเลยค่ะ ยังไม่ได้จดเข้าภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ยังไม่ได้จดเข้าประกันสังคมแล้วก็ไม่เคยยื่นงบการเงินตั้งแต่ปี 2562,2563,2564 ซึ่งปี 2564 อยู่ในช่วงการทำงบอยู่ในช่วงนี้ แล้วก็ยังไม่เคยได้รับจดหมายจากสรรพากร หรือว่าจดหมายจากกระทรวงพาณิชย์ เรื่องของการให้ไปเสียค่าปรับ หรือให้ยื่นงบต่างๆ ที่นี้ค่ะน้องก็เล่าต่อว่าในปี 2564 น้องได้เอาบริษัทนี้ค่ะไปรับงานซึ่งมีงานเข้ามา

โดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว น้องก็เลยเอางานตัวนี้เข้าบริษัทแล้วก็ได้เอารายได้เข้าบริษัทด้วย ได้มีการถอนเงินไปจ่ายพวกค่าใช้จ่ายต่างๆ จ่ายต้นทุนซื้อของต่างๆ แล้วก็มีกำไรเหลืออยู่ในบริษัทประมาณ 300,000 กว่าบาทน้องก็ได้มีการถอนเงินตัวนี้คะถอนออกไปใช้ส่วนตัว 300,000 บาท น้องก็เลยมีความกังวลว่า

ประเด็นแรก

ต้องทำยังไงบ้างกับงบการเงินที่ไม่เคยปิดมาตั้งแต่ปี 2562 แล้ว

ประเด็นที่สอง

ประเด็นที่น้องกังวลต่อมาก็คือว่าตัวเงินสดที่น้องถอนออกไปใช้ส่วนตัว 300,000 บาท จะมีผลอะไรกับตัวของบริษัทแล้วมีผลกับตัวน้องบ้าง น้องก็ถามพี่เก่งในคำถามสองประเด็นนี้

“พี่เก่งก็ตอบไปอย่างนี้”

คำถามแรกเรื่องประเด็นเรื่องการไม่ส่งงบพี่เก่งแนะนำว่าให้ส่งงบให้ครบถ้วนก็ทำการหาพนักงานบัญชี หาผู้สอบบัญชีปิดงบตั้งแต่ปี 2562,2563,2564 ให้เรียบร้อยนะคะ

การปิดงบนี้ให้ปิดงบไล่ขึ้นมา จะไม่สามารถปิดงบปี 2564 ได้ปีเดียวอย่างนี้ไม่ได้ ต้องทยอยไล่ปิดตั้งแต่ ปี 2562,2563,2564 ที่นี้ในประเด็นของตัวข้อที่สอง ที่ว่ามีการถอนเงินออกไปใช้ส่วนตัว 300,000 บาท ตัวเนี่ยค่ะพี่เก่งก็แนะนำว่าถ้าในช่วงนี้ ยังไม่ได้ปิดงบปี 2564 ก็ให้น้องแจ้งนักบัญชีที่ดูงบของน้องท่านนี้ว่าให้ทำเป็นรายการว่าเป็นการจ่ายเงินของเงินเดือนกรรมการ ก็ทำเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับในรอบปี 2564 แล้วก็ให้ทำแบบยื่น ภ.ง.ด.1ก ให้เรียบร้อยด้วย ส่วนตัวกรรมการ ได้มีการรับเงินเดือนในรอบปี 2564 ซึ่งได้รับเงินสดไปเรียบร้อยแล้ว

ก็ให้กรรมการ(น้องท่านนี้) ให้ยื่นแบบภาษีด้วย ภ.ง.ด.91 ซึ่ง ภ.ง.ด.91 ของรอบปี 2564 ก็จะต้องยื่นแบบเสียภาษีและชำระให้เสร็จ ในวันที่ 31 มีนาคมของปี 2565 พี่เก่งก็แนะนำน้องให้ยื่น ภ.ง.ด.91 ให้เรียบร้อย ซึ่งถ้าดูตัวเลขจากตัวเลขที่น้องถอนเงินออกไปใช้ที่ 300,000 บาท ถ้าเราตั้งเป็นเงินเดือนของกรรมการแล้วก็น้องมายื่นเสียภาษี ภ.ง.ด 91 ตรงนี้ทางฝั่งกรรมการก็ไม่มีภาษีเสีย เช่น เดียวกันเพราะเนื่องจากว่าตัว 300,000 บาท ทางฝั่งบุคคลก็จะตีเป็น 40(1) อยู่ในหมวดของเงินเดือน เงินเดือนจะหักค่าใช้จ่ายที่ 50% ไม่เกินหนึ่งแสนบาท ก็หักออกไปที่ 100,000 บาท ก็จะเหลือตัวเลขที่ออกมา 200,000 บาท 200,000 บาท มาหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ก็จะเหลือที่ 140,000 บาท 140,000 บาท เป็นตัวเลขที่เอาไปคำนวณภาษี ซึ่งภาษีของบุคคลธรรมดา สเต็ปแรกมันคือได้รับการยกเว้นที่ 150,000 บาท

ซึ่งพอคำนวณออกมาแล้วมันได้แค่ 140,000 บาท ก็แปลว่าน้องก็ไม่ต้องเสียภาษี ในเคสนี้พี่เก่งก็แนะนำให้น้องทำให้ถูกต้องทั้งฝั่งบุคคลธรรมดาก็ฝั่งของบริษัท ส่วนตัวของบริษัทรอบปี 2562 ส่งเป็นงบเปล่าไปเพราะไม่มีรายการอะไรเกิดขึ้นนะคะ ปี 2563 ก็ส่งเป็นงบป่าวนะคะปี 2564 ก็เอาเอกสารรายรับ-รายจ่าย และก็ตัวเงินเดือนที่ตั้งนี้ บันทึกค่าใช้จ่ายแล้วก็ปิดงบเพื่อนำส่งกระทรวงพาณิชย์ แล้วก็ส่งสรรพากร พร้อมแบบ ภ.ง.ด.50 ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม ของปี 2565 นี้ อันนี้ก็ทำให้ทุกอย่าง Process (กระบวนการ) ทุกอย่างถูกต้อง

น้องท่านนี้พอพี่เก่งอธิบาย ขั้นตอนให้ฟังนะคะน้องก็สบายใจขึ้นแล้วก็จะได้กลับไปทำให้ถูกต้อง พี่เก่งก็เลยอยากจะแชร์คำถามต่างๆจากงานสัมมนาให้พวกเราฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์กับพวกเราถ้าเกิดเจอเคสคล้ายๆ กันแบบนี้ ซึ่งงานสัมมนาครั้งต่อไปนะคะจัดที่ขอนแก่นวันที่ 11 มีนาคม 2565 ซึ่งพี่เก่งก็จะเอาคำถาม หรือประสบการณ์ต่างๆ มาเล่าสู่เราฟังต่อในครั้งถัดไป

คลิปนี้เก่งข้อสรุปประมาณนี้นะคะแล้วเจอกันใหม่คลิปหน้าค่ะขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ

วีดีโอบรรยาย

กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม


ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com

Add Friend

ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี

Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao

แชร์