การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ – พิโกไฟแนนซ์

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ หรือพิโกพลัส มีหลักเกณฑ์ และวิธีการอย่างไร รวมถึงมีภาษีอะไรเกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจบ้าง?

การขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์หรือพิโกพลัส)

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีผู้ประกอบการหลายรายโทรเข้ามาสอบถามและขอคำแนะนำเกี่ยวกับการขอ
ใบอนุญาต PICO ซึ่งใบอนุญาตใบนี้เป็นใบอนุญาตที่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตสามารถปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชนทั่วไปได้โดยพี่เก่งจะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องหลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาต เอกสารที่ต้องให้ในการยื่นขอ และระยะเวลาในการพิจารณา รวมถึงเมื่อได้ใบอนุญาต เรื่องบัญชีและภาษีมีเรื่องอะไรมาเกี่ยวข้องบ้าง

1.หลักเกณฑ์ในการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัด

ก่อนอื่นเราต้องทราบก่อนว่า ใบอนุญาตพิโกไฟแนนช์นี้มี 2 แบบ คือ พิโกไฟแนนช์ กับ พิโกไฟแนนช์พลัส โดย 2 แบบนี้มีความแตกต่างและรายละเอียดดังนี้

1.1 กรณีพิโกไฟแนนซ์ จะต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท และสามารถปล่อยสินเชื่อ
ให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 50,000 บาทต่อราย และในส่วนของการเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 33% ต่อปี (กรณีที่มีหลักประกัน) แต่ถ้าไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ไม่เกิน 36% ต่อปี โดยอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบ Effective Rate คือลดต้นลดดอก)

1.2 กรณีพิโกพลัส จะต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท และสามารถปล่อยสินเชื่อให้แก่ประชาชนได้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย โดย 50,000 บาทแรกสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันแล้วได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 33 ต่อปี (กรณีที่มีหลักประกัน ) แต่ถ้าไม่มีหลักประกัน อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 36% ต่อปี ส่วนที่เหลือ 50,000 บาทหลังสามารถเรียกเก็บดอกเบี้ย กำไรจากการให้สินเชื่อ ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมอื่นใด รวมกันได้ไม่เกินอัตราร้อยละ 28 ต่อปี (Effective Rate)

สรุปความแตกต่างของ ทั้ง 2 แบบ  มีดัวยกัน 3 เรื่องคือ

ความแตกต่างพิโกพิโกพลัส
1.ทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้ว50,000100,000
2.วงเงินสินเชื่อต่อราย
3.อัตราดอกเบี้ย
วงเงิน 50,00 แรก มีหลักประกัน33% ต่อปี33% ต่อปี
วงเงิน 50,000 แรก ไม่มีหลักประกัน36% ต่อปี36% ต่อปี
วงเงิน 50.000 หลัง28% ต่อปี

2.ผู้ขออนุญาตจะต้องเป็นนิติบุคคล 3 ประเภท ดังนี้ 1. ห้างหุ้นส่วน 2. บริษัทจำกัด 3. บริษัทมหาชนจำกัด
3.นิติบุคคลที่ขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับนั้นชาวต่างชาติถือหุ้นได้ไม่ เกิน 49% ทั้งนี้ชาวต่างชาติสามารถเป็นกรรมการได้ แต่ต้องไม่ใช่กรรมการผู้มีอำนาจเซ็น
4. ผู้ขอใบอนุญาตนี้ต้องไม่ใช้สถาบันการเงิน คือใบอนุญาตนี้ให้ผู้ประกอบกรที่ไม่ใช่ธนาคาร (Non – Bank)
5. หลังจากได้ใบอนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ ต้องเปิดดำเนินการ ภายใน 1 ปี
6. สามารถปล่อยสินเชื่อได้เฉพาะในจังหวัดที่สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่
7. ผู้กู้ต้องเป็นบุคคลธรรมดา ที่มีถิ่นที่อยู่ในจังหวัด หรือ มีภูมิลำเนา เดียวกับผู้ให้กู้
8. เป็นสินเชื่อจะมีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกันก็ได้
9. กรรมการผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้มีอำนาจในการจัดการ หรือผู้ถือหุ้นของผู้ประกอบธุรกิจต้องไม่มีดังนี้
     9.1. เป็นหรือเคยเป็นบุคคลล้มละลาย
     9.2. เคยได้รับโทษจำคุก โดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกในความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ที่กระทำโดยทุจริต
10. ผู้ประกอบการต้องการที่จะเปิดสาขาใหม่ ต้องแจ้งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันนก่อนเปิดทำการสำนักงานสาขาดังกล่าว
11. ผู้ประกอบธุรกิจจะย้ายสำนักงานสาขาหรือปิดสำนักงานสาขา ต้องแจ้งสำนักงานเศรษฐกิจการคลังล่วงหน้าไม่ น้อยกว่า 30 วัน
12. ผู้ประกอบ ต้องปิดประกาศ ณ สำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขา เพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบรายละเอียดเกี่ยวกับ ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมใดๆ ก่อนที่ผู้บริโภคจะตกลงใช้บริการสินเชื่อรายย่อยภายในวันเดียว ที่ผู้ประกอบธุรกิจประกาศหรือเปลี่ยนแปลงรายละเอียดดังกล่าว

2.เอกสารเบื้องต้นที่ใช้ในการขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ (พิโกไฟแนนซ์และพิโกพลัส)

  1. แบบคำขออนุญาตประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  2. สำเนาใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนนิติบุคคล มีอายุไม่เกิน 1 เดือน ก่อนวันยื่นขอหนังสืออนุญาต
  3. สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีบริษัท)
  4. สำเนาทะเบียนผู้ถือหุ้น (กรณีบริษัท)
  5. สำเนาข้อบังคับ (กรณีบริษัท)
  6. แบบรับรองคุณสมบัติกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการจัดการทุกคน
  7. ชื่อ ที่อยู่ปัจจุบัน เบอร์โทรศัพท์ ของผู้สอบบัญชี ประวัติการตรวจสอบบริษัท พร้อมสำเนาใบอนุญาตผู้สอบบัญชี
  8. งบการเงินที่รับรองโดยผู้สอบบัญชีปีล่าสุด หรือหนังสือรับรองเงินฝากจากธนาคารพาณิชย์มีจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้าน โดยต้องมีอายุไม่เกิน 7 วันก่อนวันยื่นหนังสือขออนุญาต
  9. สำเนารายงานการประชุมของคณะกรรมที่มีมติเห็นชอบให้บริษัท/ห้างหุ้นส่วน ประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อย ระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  10. แผนการดำเนินธุรกิจการให้สินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
  11. ภาพถ่ายสำนักงานใหญ่ และสำนักงานสาขา (ถ้ามี) พร้อมแผนที่ตั้ง
  12. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของกรรมการ ผู้จัดการ และ/หรือผู้มีอำนาจในการ จัดการ
  13. หลักฐานการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมของผู้ถือหุ้นและกรรมการทุกท่าน

3.ระยะเวลาในการอนุมัติ

ระยะเวลาในการพิจารณาอนุมัติ ตามกฎหมาย 60 วัน แต่อาจจะนานกว่าระยะเวลาตามที่กฎหมายกำหนดไว้

4.ภาษีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพิโก

4.1 ภาษีนิติบุคคล.  คำนวณจากกำไรสุทธิ = รายได้ทั้งหมด – ค่าใช้จ่ายทั้งหมด

กำไร 1 – 300,000ภาษี 0 บาท
กำไร 300,0001 – 3,000,000ภาษี 15%
กำไร  3,000,001 บาทขึ้นไปภาษี 20%

4.2 ภาษีหัก ณ.ที่จ่าย

กรณีเราเป็นนิติบุคคลและมีการจ่ายค่าบริการจะต้องมีการหัก ภาษี หัก ณ. ที่จ่ายและนำส่ง สรรพากรภายในวันที่  7 ของเดือนถัดไป

4.3 ภาษีธุรกิจเฉพาะ

เมื่อเริ่มประกอบธุรกิจต้องไปจดเข้าระบบภาษีธุรกิจเฉพาะ ที่สรรพากรพื้นที โดยภาษีธุรกิจเฉพาะ จะเสียในอัตรา 3.3% ของรายได้ค่าดอกเบี้ยที่ได้รับในแต่ละเดือน และนำส่งภาษีธุรกิจเฉพาะ ด้วยแบบ ภธ 40 ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

4.4 อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ทางผู้ให้กู้จะต้องติดอากรแสตมป์ในสัญญาการกู้ยืม โดย ทุกๆ 2,000 บาทจะต้องติดอากรแสตมป์ 1 บาท. ถ้าปล่อย 50,000 ก็ยังติดอากรแสตมป์ 25 บาท

สรุปภาษีที่เกี่ยวก้อง

รายการภาษีนิติบุคคลภาษีธรุกิจเฉพาะอากรแสตมป์
รายได้ดอกเบี้ยตามสัญญาให้กู้ยืมเงิน///
รายได้ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการให้กู้ยืม
ค่าธรรมเนียมการกู้//
รายได้ค่าติดตามหนี้//
ค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับการให้กู้ยืม//

5.การจัดทำบัญชีและการนำส่งรายงาน

รายเดือน:จัดทำรายงานแบบรายงานสินเชื่อ ตามแบบที่กำหนด นำส่งให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใน 30 วันนับจากวันสิ้นเดือน
รายปี:-จัดทำงบการเงิน ณ. วันสิ้นปี และนำส่งสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นปี
-จัดทำงบการเงิน ณ. วันสิ้นปี  นำส่งกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ภายใน 5 เดือนนับจากวันสิ้น
– จัดทำงบการเงิน ณ. วันสิ้นปี นำส่งกรมสรรพากรพร้อมแบบ ภงด 50 ภายใน 150 วัน นับจากวันสิ้นปี

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าธรุกิจพิโกไฟแนนซ์ มีความละเอียดตั้งแต่ขั้นตอนการขอใบอนุญาต และ หลังจากได้ใบอนุญาต ดังนั้นผู้ประกอบการที่ต้องการขอใบอนุญาตใบนี้ ควรศึกษาข้อมูลและแนวทางปฏิบัติต่างๆเพื่อให้สามารถจัดทำข้อมูลและได้ถูกต้องครบถ้วน

สนใจบริการติดต่อ


บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
Tel : 094 864 9799
LINE ID : @greenproksp

เพิ่มเพื่อน

E-mail info.th@greenproksp.com

บริษัท กรีนโปร เคเอสพี คอนซัลติ้ง จำกัด
43 อาคารไทยซีซีทาวเวอร์ ชั้น 11 ห้องเลขที่ 111 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

Tel : 094 864 9799084 360 4656
LINE ID : @greenproksp

เพิ่มเพื่อน

E-mail info.th@greenproksp.com

แชร์