สวัสดีค่ะพี่เก่งนะคะ วันนี้พี่เก่งจะมาเล่าเกี่ยวกับเรื่อง คำถาม-คำตอบ ของลูกค้าที่สอบถามเข้ามาในไลน์แอด เนื่องจากช่วงนี้น้องๆ มีการสอบถามเข้ามาในไลน์แอดค่อนข้างจะเยอะ พี่เก่งเลยอยากจะแชร์คำถามคำตอบให้กับพวกเราได้ฟังกัน
รายละเอียดเพิ่มเติม สามารถรับชมได้จากคลิปนี้ได้เลย
ให้ความรู้โดยพี่เก่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีและภาษี, ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต (CPA)
เนื้อหาประกอบคลิปบรรยาย
รายละเอียดเนื้อหาสรุปจากคลิปวีดีโอบรรยาย+เพิ่มเติม
คำถามแรกค่ะ
มีน้องท่านหนึ่งไลน์เข้ามาสอบถาม ว่ากำลังจะเปิดร้านขายหมูสดหน้าโรงงานแห่งหนึ่ง แล้วก็น้องก็มีเงินเดือนประจำอยู่กำลังจะ ให้เช่าออฟฟิศที่หนึ่งเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งเป็นบ้านของตัวเอง ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ก็เลยจะปล่อยให้เช่า น้องก็ถามว่าถ้าเกิดมีรายได้จากการขายหมู ซึ่งตัวของการขายหมูเองก็ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะยอดขายมากขนาดไหน แล้วก็มีรายได้จากการให้เช่าตึกอาคารพาณิชย์ ซึ่งตัวนี้เองมีรายได้อยู่มาประมาณสักเดือนละ 9,000 บาท ทีนี้ค่ะน้องก็ถามคำถามพี่เก่งว่าถ้ามีรายได้จากสองช่องทางจะเริ่มต้นในรูปแบบทำธุรกิจในรูปแบบไหน จะเป็นรูปบริษัทดีไหมหรือว่าทำในนามบุคคลธรรมดานะคะ
กรณีนี้พี่เก่งอยากอธิบายพวกเราอย่างนี้ค่ะว่า
ในเรื่องของการทำธุรกิจเริ่มต้น อย่างเช่นธุรกิจขายหมู อันนี้เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้น VAT ไม่มีเรื่องภาษีมูลค่าเพิ่มเกี่ยวข้องเราก็สามารถจะรับรู้รายได้ทั้งหมดเลย แล้วก็ไม่ต้องนำส่งเรื่องของภาษีขาย ส่วนเรื่องของตัวค่าเช่าออฟฟิศ หรือเช่าตึกอาคารพาณิชย์ อันนี้ค่ะก็เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้น VAT เช่นเดียวกันก็จะเห็นว่าทั้งสองธุรกิจไม่มีเรื่อง VAT มาเกี่ยวข้องก็เหลือเรื่องของภาษีบุคคลธรรมดาอย่างเดียว พี่เก่งก็ดูเรื่องตัวเลขแล้วก็ดูเรื่องของการเริ่มต้นทำธุรกิจ ก็แนะนำน้องไปว่าควรจะเริ่มต้นในรูปของบุคคลไปก่อน ก็คือยังไม่ต้องไปจดเป็นรูปบริษัทเนื่องจากว่าถ้าเราค่อยๆ ทำไปแล้ว แล้วถ้าธุรกิจมันดีแล้วค่อยจดเป็นรูปบริษัทก็ยังไม่สายเกินไป เนื่องจากเรื่องของการจดเป็นรูปบริษัท จดง่ายก็จริงแต่ตอนเลิก เลิกยากนะคะก็อยากให้น้องๆ ดูประเด็นนี้เป็นหลักด้วย สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจทุกอย่างอยากให้ทำให้รูปของบุคคลธรรมดาไปก่อนอย่างเช่น ตัวขายหมูสดที่หน้าโรงงาน ถ้าธุรกิจมันไปได้ดี เราค่อยขยายธุรกิจแล้วก็ค่อยจดเป็นรูปบริษัทก็ได้ ก็ยังมีแนวทางที่จะขยายธุรกิจหรือว่ามีแนวทางที่จะพิจารณาในอนาคตได้ อันนี้ก็ไม่ต้องใจร้อนใจเย็นๆแล้วค่อยๆทำไปนะคะ
คำถามที่ 2 ค่ะ
มีน้องท่านหนึ่งค่ะก็ไลน์เข้ามาถามเช่นเดียวกันว่ามีรายได้จากการเป็นนายหน้าขายอสังหาริมทรัพย์ ยอดขายประมาณสักปีหนึ่งประมาณสองล้านบาทแล้วก็กำลังจะเริ่มทำเกี่ยวกับเรื่องของนายหน้าประกันชีวิต น้องก็ปรึกษาว่าถ้ายอดขายประมาณนี้ค่ะ คือมีค่าคอมมิชชั่นจากอสังหาฯสองล้านแล้วก็ตัวนายหน้าจากประกันน้องยังไม่ได้บอกว่าตัวเลขเท่าไรนะว่ากำลังเพิ่งจะเริ่มสอบอนุญาต แล้วน้องก็ถามว่าควรจะจดเป็นรูปบริษัทเลยไหม อันนี้ก็เป็นคำถามที่น้องๆ ส่วนใหญ่มีคำถามเยอะ ว่าพอเริ่มทำธุรกิจแล้วก็จะจดเป็นรูปบริษัท อันนี้ประเด็นของน้องเคสนี้ พี่เก่งแนะนำไปว่าต้องลองดูว่าธุรกิจนายหน้าอสังหาฯ เรานะหรือว่านายหน้าขายประกันชีวิต ค่าใช้จ่ายหลักๆ เรามีอะไรบ้างเพราะเนื่องจากธุรกิจนายหน้าฯ ค่าใช้จ่ายไม่ค่อยมีนะคะการจะเป็นรูปบริษัทเราต้องทำบัญชีแบบรับจริง-จ่ายจริง ก็คือรายรับที่เข้ามาก็ต้องรับรู้ในฝั่งของบริษัทแล้วก็รายได้คอมมิชชั่น ทั้งสองอย่างทั้งนายหน้าอสังหาฯ นายหน้าประกันชีวิต เป็นรายได้ที่ต้องเข้า VAT นั้นประเด็นเรื่อง VAT เราหลบไม่ได้ ก็ต้องนำส่ง VAT ทุกเดือนด้วย แล้วก็เป็น VAT ที่ต้องนำส่งเฉพาะ VAT ขายด้วยนะคะเนื่องจากภาษีซื้อก็ไม่ค่อยมี สำหรับธุรกิจตรงนี้ แล้วก็เรื่องค่าใช้จ่ายพี่เก่งแนะนำน้องท่านนี้ลองดูว่าในการทำธุรกิจของน้องทั้งตัวนายหน้าอสังหาฯ แล้วก็ตัวนายหน้าประกันชีวิต มีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างเช่น มีเรื่องของค่าโฆษณาไหม มีเรื่องของต้นทุนในการจัดบูธ หรือว่าต้นทุนในเรื่องของการทำ Marketing ต่างๆ นะคะ ธุรกิจลักษณะแบบนี้ค่าใช้จ่ายมันน้อยพี่เก่งก็ลองให้น้องค่อยๆ ไล่เรียงลำดับดูว่าถ้าค่าใช้จ่ายเรามีเยอะมากพอก็แนะนำให้เปิดเป็นรูปบริษัท เพราะจะคุ้มกว่าเพราะฐานภาษีเองพอเวลาที่คำนวณภาษี ถ้ากำไรเราไม่เยอะ มีค่าใช้จ่ายไปหักมันเยอะ กำไรไม่เยอะก็ทำให้ภาษีมันน้อยนะคะ แต่ว่าทั้งหมดทั้งมวล ก็ต้องดูบนข้อมูลความเป็นจริงพี่เก่งยังมองว่าธุรกิจตัวนี้นะคะทำเป็นรูปของบุคคลธรรมดายังพอได้ เนื่องจากว่ายอดขายยังไม่สูง เท่าไหร่แล้วก็ในเรื่องของตัวการจัดการเรื่องงานเอกสารไม่ยุ่งยากด้วย เพราะว่าการทำในนามบุคคลธรรมดาเองเนี่ย ถ้ายอดขายเราอยู่ประมาณสัก 2 ล้าน สองล้านกว่าๆ แล้วเราสามารถที่จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจมาหักได้โดยเลือกใช้หักตามจริง กำไรก็ไม่สูงมากเกินไปเราก็หักลดหย่อนต่างๆ ก็ตัวฐานภาษีก็จะไม่สูงมากเกินไป แล้วก็ไม่ต้องวุ่นวายเรื่องของการทำบัญชีด้วย ก็เลยอยากให้ น้องท่านนี่ค่ะ อยากให้พิจารณาในเรื่องของการเตรียมเอกสารต่างๆด้วยนะว่ามันคุ้มหรือเปล่าแล้วก็สามารถที่จะทำได้รึเปล่าด้วยนะคะ
คำถามที่ 3 ค่ะ
ก็เป็นเรื่องของคำถามกับรอบบัญชี มีน้องท่านนึงค่ะไลน์เข้ามาถามว่าเพิ่งจะเปิดบริษัทเมื่อวันที่ 11 เดือน 11 ปีที่แล้ว ปี 2564 ถามว่าจะต้องมีการปิดบัญชีของรอบ 31 ธันวาคมปี 2564 รึเปล่า อันนี้คำถามลักษณะนี้ก็ถามเข้ามาเยอะนะคะพี่เก่งให้คำแนะนำน้องไปแบบนี้ ว่ากรณีที่เราเปิดบริษัทเราก็ไปดูที่ข้อบังคับของบริษัทเราว่าในข้อบังคับได้มีการกำหนดไว้เรื่องของระบุรอบระยะเวลาบัญชีหรือเปล่า เราก็ดูอย่างนี้ค่ะตอนที่เราไปจ้างสำนักงานบัญชีหรือสำนักงานกฎหมายจดบริษัทต้องดูที่ว่าข้อบังคับของบริษัทเองได้มีการระบุเรื่องของการล็อกงวดไว้หรือเปล่าเพราะบางทีเป็นล็อกงวดไว้เป็นทุกวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี ถ้าเป็นอย่างนี้ลักษณะแบบนี้ ถ้าเราเปิดวันที่ 11 เดือน 11 ปี 2564 รอบแรกของเราก็ต้องปิดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นรอบแรก รอบที่สองจะเป็นปิดทุกวันที่ 31 ธันวาคมปี 2565, 2566 เป็นต้นไป กรณีแบบนี้เขาเรียกว่าเป็นการลักษณะของการ ล็อกงวดบัญชีนะคะ ถ้าในกรณีหนึ่งข้อบังคับของบริษัทใช้ข้อบังคับของกระทรวงพาณิชย์ สมมุติว่าเปิดบริษัทวันที่ 11 เดือน 11 ปี 2564 ถ้าไม่ได้ล็อกงวดไว้อย่างนี้ ก็สามารถที่จะปิดวันที่ 31 ตุลาคมปี 2565 เป็นรอบแรกได้ แล้วเราก็จะต้องปิดทุกวันที่ 31 ตุลาคมของทุกปีตลอดไปนะคะอันนี้ก็เป็นสิ่งที่น้องๆทุกคนต้องระวังด้วยนะคะเพราะบางทีเราไม่รู้เรื่องตรงนี้ อาจทำให้ลืมการปิดงบได้นะคะ
ที่นี้มีน้องอีกท่านหนึ่ง
ก็สอบถามเข้ามาเหมือนกันว่าจดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 เดือน 7 ปี 2564 ถามว่าจะต้องปิดงบสิ้นปีนี้หรือเปล่า พี่เก่งก็ให้น้องไปเช็คเหมือนกันว่าข้อบังคับของบริษัทยังไงบ้าง น้องก็ส่งตัวข้อบังคับให้พี่เก่งดูปรากฏว่าน้องท่านนี้ บริษัทไม่มีข้อบังคับนะคะพอไม่มีข้อบังคับก็แปลว่าไม่มีการล็อกงวดบัญชี ก็สามารถที่จะเลือกปิดเป็นรอบ 31 ธันวาคมของทุกปี หรือว่าจะเลือกปิดเป็นรอบ 30 มิถุนายนปีหน้าเป็นรอบแรกก็ได้ อันนี้ก็มีสิทธิ์เลือกเรื่องของรอบบัญชี พี่เก่งก็อธิบายน้องทั้งสองท่านไปแบบนี้นะคะ
คำถามที่ 4 ค่ะ
มีน้องท่านหนึ่งค่ะก็ไลน์มาถามเช่นเดียวกัน ว่ากำลังลงทุนทำเป็นรูปของบริษัทแล้วก็ทำธุรกิจเกี่ยวกับเรื่องของการปลูกต้นกัญชงได้มีการลงทุนในเรื่องของซื้อเมล็ดพันธุ์ ต้นพันธุ์ต่างๆ แล้วก็ตัวโรงเรือน ลงทุนไปเกือบๆ สองล้านบาทและก็มีจ้างผู้รับเหมา ในการทำโรงเรือนสิ่งปลูกสร้างปรากฏว่าเคสนี้ค่ะน้องท่านนี้เองเงินที่ออกไปทั้งหมดในการก่อสร้าง ก็จ่ายในนามส่วนตัวกรรมการสำรองจ่ายก่อนแล้วก็ทางฝั่งผู้รับเหมาเองก็บอกว่าไม่ให้หัก ณ ที่จ่ายด้วย เนื่องจากว่ากลัวการประเมินราคางานก่อสร้าง ผู้รับเหมาบอกว่าก็ลดราคาให้เยอะ ก็เลยไม่ให้เราหัก ณ ที่จ่าย น้องท่านนี้ก็เลยถามเข้ามาว่าอย่างนี้ผมสามารถที่จะเบิกเงินจากบริษัทคืนได้ไหมแล้วก็สามารถลงเป็นค่าใช้จ่าย หรือว่าลงเป็นทรัพย์สินบริษัท ได้รึเปล่า พี่เก่งแนะนำน้องทานนี้ไปแบบนี้ค่ะว่ากรณีถ้าลักษณะแบบนี้ เราเองกรรมการสามารถสำรองจ่ายแทนบริษัทได้ สามารถเบิกคืนได้แต่ว่าประเด็นนี้หลักฐานที่สำคัญคือเรื่องของภาษี หัก ณ ที่จ่ายเราจะต้องมีการ หัก ณ ที่จ่ายผู้รับเหมา เรื่องของการสร้างโรงเรือนมูลค่าล้านหนึ่ง สองล้านก็แล้วแต่เราต้องคุยกับผู้รับเหมาว่าเราขอหัก ณ ที่จ่าย โดยที่เราเป็นลักษณะของการออกภาษีแทนให้ก็ได้ สมมุติว่าค่าก่อสร้างหนึ่งล้านบาทเราก็ออกภาษีแทนให้เราก็เอาหนึ่งล้านบาทคูณ 3 แล้วก็หาร 97 ก็ออกมาเป็นตัวเลขภาษีตัวหนึ่งที่เราเป็นภาษีออกให้กับทางผู้รับเหมาตัวภาษีออกให้ ก็จะเป็นค่าใช้จ่ายของฝั่งบริษัทเราด้วย สมมุติในกรณี ไม่ได้หัก ณ ที่จ่ายเลยในฝั่งบริษัทเองก็จะไม่สารถลงใช้จ่ายได้ ก็เสียผลประโยชน์ในเรื่องนี้ไป พี่เก่งก็เลยแนะนำว่าอยากให้น้องทำให้ถูกต้องก็คุยกับทางผู้รับเหมาดู ทั้ง 4 คำถามก็เป็นคำถามน้องๆที่สอบถามไลน์แอดนะคะ
ตอนนี้พี่เก่งก็มีช่องทางติดต่อพี่เก่งหลายช่องทางไม่ว่าจะเป็นเพจ เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา หรือว่าไลน์แอดของ Greenpro KSP น้องๆ สามารถจะสอบถามคำถามเข้ามาได้พี่เก่งก็จะทยอยตอบให้น้องๆ พี่เก่งก็ขอสรุปคลิปนี้ไว้ประมาณนี้นะคะเดี๋ยวเจอกันในคลิปหน้า ขอบคุณค่ะสวัสดีค่ะ
กำลังมีปัญหาบัญชีและภาษีอยู่ใช่ไหม? รับให้คำปรึกษา! ภาษี วิธีการสังเกตใบกำกับภาษีปลอม
ติดต่อ: เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา (บริษัท กรีนโปร เคเอสพี แอคเคาท์ติ้ง จำกัด)
ที่อยู่: 32/8 ซอยสุขาภิบาล 5 ซอย 73 (พรกุลวัฒน์) แขวง ออเงิน เขตสายไหม กรุงเทพฯ 10220
Mobile: 085-067-4884
LINE ID: @kengbunchee
More Info about Greenpro KSP Group: https://linktr.ee/greenproksp_group
E-mail: info@greenproksp.com
ฝากกดติดตาม เก่งบัญชี ภาษีบรรเทา รับข่าวสารดีๆ ด้านบัญชีและภาษี
Youtube: https://www.youtube.com/@kengbuncheepasibuntao
Facebook: https://www.facebook.com/kengbuncheepasibuntao
ปรึกษาเรื่องภาษีบัญชีทั่วไป
ปรึกษาฟรี! 3 คำถาม
มากกว่านั้นคิด 5,000 บาท/ชม.
แอดที่ไลน์ id: @kengbunchee
—————————————
ปรึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีทั้งระบบ
โทรศัพท์: 25,000 บาท/ 2 ชม.บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล วางแผนด้านตัวเลข
…………….*กรณีเป็นเคสภาษีซับซ้อน ของแจ้งราคาเป็นเคสๆ ค่ะ
—————————–
สนใจบริการ ด้านบัญชี ภาษี, จดทะเบียนนิติบุคคล (จดจัดตั้ง จดเปลี่ยนแปลง บริษัท, หจก.)
บริการด้านบัญชี ภาษี โทร: 0850674884 LINE ID: @kengbunchee
บริการด้านจดทะเบียนนิติบุคคล โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp
—————————–
บริการด้านจด VAT, ขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจ,ขอ VISA,ขอใบอนุญาตทำงาน (Work Permit)
จดมูลนิธิ,สมาคม, พิโกไฟแนนซ์, วางแผนภาษี “
โทร: 094 864 9799 LINE ID: @greenproksp
—————————–
สนใจคอร์สเรียนภาษี
คอร์สเรียนภาษีทั้งระบบสำหรับผู้ประกอบการใหม่
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษีทั้งระบบ/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ขายสินค้าออนไลน์
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/ภาษี-ขายสินค้าออนไลน์/
คอร์สเรียน วางแผนภาษี ยูทูปเบอร์ (YouTuber)
คลิกลิงก์: https://www.kengbuncheepasibuntao.com/วางแผนภาษี-ยูทูปเบอร์/
—————————–